ยินดีต้อนรับเข้าสู่เว็บบล็อกนะค่ะ

ยินดีต้อนรับเข้าสู่ Blogger นางสาวทิพวรรณ เกิดทิม

หน่วยที่ 10


หน่วยที่ 10 แนวโน้มในอนาคตเกี่ยวกับนวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศกับการศึกษาหรือการเรียนการสอน





                         แนวโน้มการพัฒนานวัตกรรมด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารซึ่งมีความก้าวหน้าอย่างรวดเร็ว จะมุ่งเน้นในการบริหารจัดการสารสนเทศที่มีอยู่อย่างมากมาย ให้เกิดการนำมาใช้ประโยชน์สูงสุด ทั้งด้านธุรกิจ ด้านการศึกษาและวิจัย ด้านความบันเทิง รวมถึงด้านความมั่นคง โดยอาศัยเทคโนโลยีทางการสื่อสารเป็นพื้น ฐานสำคัญในการแลกเปลี่ยนข้อมูลสารสนเทศที่อยู่ให้เกิดเป็นเครือข่ายข้อมูลไร้พรมแดน หรือ Ubiquitous Information Society ที่ข้อมูลและข่าวสารได้รับการเชื่อมโยงและเข้าถึงอย่างไร้ข้อจำกัด
แนวโน้มการใช้เทคโนโลยีการศึกษาในอนาคต
               1. ให้ความสำคัญกับการเรียนการสอนนอกระบบมากขึ้นจะเห็นได้ว่า กฎหมายให้ความสำคัญแก่การจัดการศึกษานอกระบบ และการศึกษาตามอัธยาศัยมากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งจะเน้นการศึกษารายบุคคลมวลชน และผู้ด้อยโอกาสทั้งหลาย
              2. เน้นเรื่องการใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัยเลือกใช้เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์เป็นอีกมิติหนึ่งของการเรียนการสอนโดยใช้อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ เนื่องจากสมรรถภาพทางการสอนของคอมพิวเตอร์ที่เราพบเห็นในปัจจุบันทำให้คาดการณ์ได้ว่าในอนาคตจะมีการนำ คอมพิวเตอร์มาใช้อย่างแพร่หลาย
              3. เน้นเรื่องการศึกษาเป็นรายบุคคล การศึกษาเพื่อมวลชน และการศึกษาเพื่อคนด้อยโอกาส กระทรวงศึกษาธิการ สหรัฐอเมริกา ได้มีงานวิจัยเกี่ยวกับการศึกษาพิเศษ งานวิจัยเหล่านั้นมุ่งไปที่การพัฒนาวิธีการเรียนการสอนที่จะช่วยให้คนพิการ เอาชนะข้อจำกัดทางด้านร่างกายและข้อจำกัดที่เกี่ยวกับประสาทสัมผัส
พัฒนาการของเทคโนโลยีและการเรียนการสอน
  วงการต่างๆรวมถึงวงการศึกษาล้วนได้ประโยชน์อย่างมหาศาลจากวิวัฒนาการของเทคโนโลยีสมัยใหม่เพื่อนำมาใช้ในการปรับการดำเนินงานให้ทันสมัยสมกับยุคโลกาภิวัตน์ และเพื่อนำเทคโนโลยีที่ทันสมัยมาใช้เพื่อเพิ่มพูนประสิทธิผลการเรียนรู้แก่ผู้เรียน การนำเอาเทคโนโลยีมาใช้ในห้องเรียนปัจจุบันจึงเกี่ยวข้องกับวิวัฒนาการของวัสดุ อุปกรณ์และวิธีการอันเป็นผลสืบเนื่องมาจากการพัฒนาระบบและเทคนิคระดับสูงในการผลิตและใช้งาน เทคโนโลยีที่พัฒนาและเอื้อประโยชน์ต่อการใช้งานทั้งในปัจจุบันและนับเนื่องถึงอนาคตอันใกล้จะมีมากมายหลายรูปแบบเพื่อใช้ในวงการต่างๆ  สำหรับพัฒนาการของเทคโนโลยีที่ใช้ในวงการศึกษาและการเรียนการสอนที่จะกล่าวถึง  ได้แก่
  - การบรรจบกันของเทคโนโลยีและสื่อการสอน
  - ศักยภาพของการสื่อสารในสถาบันการศึกษา
  - พัฒนาการของอีเลิร์นนิ่ง : Learning Object
  - Grid Computing
  - ความเป็นจริงเสมือน
  - การรู้จำคำพูดและการสื่อสาร
การบรรจบกันของเทคโนโลยีและสื่อการสอน
           การบรรจบกันของเทคโนโลยี (technological convergence)เป็นการรวมตัวกันของเทคโนโลยีให้เป็นเทคโนโลยีรูปแบบเดียวที่สามารถใช้งานได้หลายวัตถุประสงค์ในหนึ่งเดียว ตัวอย่างเช่น
-โทรศัพท์เซลลูลาร์เพียงเครื่องเดียว สามารถใช้ทั้งการติดต่อสื่อสารทั้งเสียง ข้อความ และภาพ มีนาฬิกาบอกเวลา จับเวลา ตั้งปลุก มีสมุดนัดหมาย
- คอมพิวเตอร์แบบกระเป๋าหิ้วและแบบมือถือที่นอกจากใช้ในการประมวลผลและจัดเก็บข้อมูลแล้ว ยังใช้ในการติดต่อสื่อสารบนอินเทอร์เน็ต ค้นคว้าหาข้อมูล
- อุปกรณ์สื่อสารไร้สายขนาดเล็กที่เป็นทั้งโทรศัพท์และคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล ขนาดเล็กลักษณะPDA
- ปากกาที่นอกจากใช้เขียนแล้วยังสามารถบันทึกเสียง เล่นMP3 และเก็บบันทึกข้อมูลได้ในด้ามเดียว
             การบรรจบกันของเทคโนโลยีในเรื่องของสื่อการสอนจะช่วยเอื้อประโยชน์ในสถาบันการศึกษาและการเรียนการสอนได้อย่างมากในเรื่องของการจัดหาทรัพยากรและวัสดุอุปกรณ์ที่ใช้เทคโนโลยีใหม่ ทำให้ไม่จำเป็นต้องจัดหางบประมาณเพื่อซื้อวัสดุอุปกรณ์มากมายหลายอย่างเพื่อใช้ในการถ่ายทอดเนื้อหาความรู้
 ศักยภาพของการสื่อสารในสถาบันการศึกษา
   การสื่อสารบรอดแบนด์
     “บรอดแบนด์” (broadband) เป็นการเพิ่มสมรรถนะการสื่อสารในการส่งและรับข้อมูลสารสนเทศที่มีปริมาณมาก เช่น ภาพยนตร์  การประชุมทางไกล ๚ ให้ส่งผ่านได้โดยไม่มีการติดขัดในการรับส่งสัญญาซึ่งส่งได้ตั้งแต่ 1.544-55 เมกะบิตต่อวินาที
      แนวโน้มในอนาคตของสถาบันการศึกษาทั้งในระดับโรงเรียนและระดับอุดมศึกษาจำเป็นต้องมีการวางแผนในการใช้การสื่อสารบรอดแบนด์มากขึ้น  ทั้งนี้เนื่องจากการถ่ายทอดเนื้อหาความรู้ในการเรียนการสอนไม่จำกัดเฉพาะเพียงข้อความตัวอักขระและภาพนิ่งเหมือนแต่เดิมอีกต่อไป แต่จะมีการถ่ายทอดความรู้และสื่อสารข้อมูลด้วยการเชื่อมต่อทั้งแบบเครือข่ายเฉพะที่และเครือข่ายอินเทอร์เน็ตรอบโลก
 การประยุกต์ทฤษฎีมาใช้ในนวัตกรรมและเทคโนโลยีทางการศึกษา
การจัดการเรียนการสอนปัจจุบันได้นำทฤษฎีและหลักการแนวคิดทางเทคโนโลยีการศึกษาในทัศนะต่างๆมาใช้ร่วมกันอย่างผสมผสานเพื่อก่อให้เกิดคุณภาพของการสอนเทคโนโลยีทางการศึกษาการใช้วัสดุอุปกรณ์เข้าช่วยในการจัดการเรียนการสอนได้มีบทบาทอย่างมากในการประยุกต์ใช้ทฤษฎีเพื่อส่งเสริมสนับสนุนการสอน ให้การจัดการเรียนการสอนบรรลุจุดประสงค์ทำให้เกิดสภาพการณ์ที่มั่นใจได้ว่าจะก่อให้เกิดการเรียนรู้ได้ตามจุดประสงค์ของบทเรียนอย่างมีประสิทธิภาพ 4ประการ คือ
1. ให้ผู้เรียนได้มีส่วนร่วมในการเรียนรู้อย่างแข็งขัน ด้วยความพึงพอใจและเต็มใจที่จะเรียนรู้
2. ให้ผู้เรียนได้รับข้อมูลย้อนกลับอย่างฉับพลัน ช่วยกระตุ้นผู้เรียนต้องการจะเรียนรู้ต่อไป
3. ให้ผู้เรียนได้รับการเสริมแรงด้วยการให้ประสบการณ์แห่งความสำเร็จเรียนรู้ด้วยความพอใจ
4. ให้ผู้เรียนได้เรียนรู้เป็นขั้นตอนทีละน้อย ไม่เกิดความคับข้องใจ เรียนด้วยความสนใจ พอใจ และไม่เบื่อหน่าย
จากหลักการและแนวคิดข้างต้นจะเห็นว่าการใช้นวัตกรรมและเทคโนโลยีทางการศึกษาเป็นสิ่งจำเป็นในการจัดการเรียนการสอนในปัจจุบัน
การจัดทำแผนภาพแผนภูมิหาวัสดุอุปกรณ์ประกอบการเรียนการสอนซึ่งไม่เคยใช้มาก่อนเป็นนวัตกรรมทางการศึกษาการจัดให้มีการสร้างจัดหาวัสดุอุปกรณ์ประกอบการสอนเป็นสิ่งจำเป็นในการจัดการเรียนการสอนการจัดให้ครูทำบันทึกการสอนตามลำดับขั้นตอนการสอนของกิจกรรมการเรียนการสอนซึ่งครูไม่เคยทำการบันทึกมาก่อนเป็นนวัตกรรมทางการศึกษาการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนโดยสร้างบทเรียนสำเร็จรูปใช้ในการเรียนการสอนอย่างนี้เป็นการใช้นวัตกรรมและเทคโนโลยีทางการศึกษาขอเสนอแนวดำเนินการการจัดทำบทเรียนสำเร็จรูป และบทเรียนโปรแกรม เพื่อใช้ในการเรียนการสอน
แนวโน้มของการเปลี่ยนแปลงทางด้านต่าง ๆ ทั้งเศรษฐกิจ   สังคม และการเมือง  มีผลทำให้มีความเปลี่ยนแปลงของนวัตกรรมและเทคโนโลยีในระยะที่ผ่านมาจนถึงปัจจุบันพบว่าประเด็นที่น่าสนใจที่ทำให้มีการเปลี่ยนแปลงไปในลักษณะต่าง ๆ  ก่อให้เกิดนวัตกรรมประเภทต่าง ๆ ได้ดังนี้
สารสนเทศ กับการศึกษา 
             เทคโนโลยีสารสนเทศที่ใช้กับการศึกษาได้แก่ สื่อคอมพิวเตอร์ช่วยสอน หรือ CAI (Computer Aided Instruction) เทคโนโลยีการสื่อสารที่ก้าวหน้าขึ้นทำให้รูปการเรียนที่จำกัดด้วยชั้นเรียน ขนาดเล็กกลายเป็นการเรียนด้วยระบบการสื่อสารทางไกลหรือโทรศึกษา (tele-education) เพื่อขยายโอกาสทางการศึกษาและแก้ปัญหาการขาดแคลนอาจารย์ผู้สอน ต่อมาเมื่ออินเทอร์เน็ตได้พัฒนาอย่างรวดเร็วและได้รับความนิยมมากขึ้นจึงได้ พัฒนาเป็น การเรียนการสอนผ่านเว็บเพจ WBI (Web Based Instruction) หรือWBL (Web Based Learning) และได้มีการพัฒนาปรับปรุงเป็นสื่อการเรียนการสอนแบบ e-Learning (Electronics Learning)
e-Learning คือ การนำเอาเทคโนโลยีเครือข่ายอินเทอร์เน็ตเข้ามาช่วยในการเรียนการสอน การถ่ายทอดความรู้ การอบรม การ
ทดสอบและประเมินผลผ่านเว็บเพจ 
             Virtual Library Virtual Library หรือห้องสมุดเสมือน เป็นรูปแบบการให้บริการอีกช่องทางหนึ่งของห้องสมุดในปัจจุบัน โดยให้บริการผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ผู้ใช้บริการสามารถสืบค้นข้อมูลและเข้าถึงข้อมูลที่มีอยู่ในห้องสมุดเสมือน ได้ ข้อมูลที่ให้บริการจะอยู่ในรูปของข้อมูลดิจิทัล ทำให้เปิดโอกาสในการเรียนรู้ เป็นแหล่งการเรียนรู้ตลอดเวลา สามารถเข้าสู่ข้อมูลที่ให้บริการได้จากทุกแห่ง 
บริการของ Virtual Library ได้แก่ บริการสืบค้นข้อมูลรายการทรัพยากรสารสนเทศ (Online Public Access Catalog-OPAC) บริการฐานข้อมูลออนไลน์ บริการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ บริการสื่ออิเล็กทรอนิกส์ บริการแนะนำสารสนเทศที่น่าสนใจ 
นาโนเทคโนโลยี อาณาจักรจิ๋ว นวัตกรรมแห่งอนาคต 
              นาโทเทคโนโลยี กำลังเข้ามามีบทบาทอย่างยิ่งกับชีวิตประจำวันของเราและเป็นที่กล่าวขานกัน อย่างมากในขณะนี้ คำว่า "นาโน (nano)" แปลว่า 1 ในพันล้านส่วน เช่น นาโนวินาที เท่ากับ 10ยกกำลัง-9หรือ 0.000000001วินาที 1 นาโนเมตร เท่ากับ 1/1,000,000,000เมตร หรือ 0.000000001 เมตร 
นาโนเทคโนโลยี คือ การทำให้โครงสร้างพื้นฐานของโมเลกุลขนาดระดับ 1 ถึง 100 นาโนเมตร กลายเป็นวัสดุหรืออุปกรณ์นาโนที่มีประโยชน์ สามารถนำมาใช้สอยได้ ซึ่งต้องอาศัยคุณสมบัติทางฟิสิกส์ เคมี และชีววิทยา ของระบบที่อยู่กึ่งกลางระหว่างอะตอม โมเลกุล กับวัตถุขนาดใหญ่ และสามารถควบคุมคุณสมบัติทั้งหลายได้ 
เทคโนโลยีข้อมูลและการสื่อสารแบบใหม่
               ความก้าวหน้าของเทคโนโลยีข้อมูลและการสื่อสารแบบใหม่ (ICT) จะยังพัฒนาอย่างต่อเนื่อง อินเตอร์เนตจึงกลายเป็นเครื่องมือสำคัญที่ช่วยปฏิวัติวิธีที่จะสื่อสารความรู้ ผ่านอีเมลล์ สื่อสังคมออนไลน์ ทำให้ความรู้ในสาขาวิชาต่างๆ สื่อสารได้ในอาณาบริเวณที่กว้างขึ้น วารสารวิชาการอิเล็กทรอนิกส์จะสามารถเผยแพร่ได้ในทุกมุมของโลก จนทำให้ความรู้กลายเป็นทรัพยากรที่เคลื่อนที่ได้ผ่านระบบอินเตอร์เนต และไม่ได้ติดอยู่กับสถานศึกษาและท้องถิ่นอีกต่อไป ทำให้การศึกษาในระดับอุดมศึกษาทำงาน ประสานงาน แลกเปลี่ยนความรู้ กิจกรรม ได้มากยิ่งขึ้น ซึ่งจะช่วยให้เกิดเครือข่ายการเรียนรู้ในประเด็นเฉพาะต่างๆ มากยิ่งขึ้น ความเข้มข้นของเนื้อหาสาระแต่ละประเด็นจะถูกตีความจากความร่วมมือของเครือข่าย และก่อให้เกิดสถาบันในท้องถิ่นต่างๆ ที่จะทำงานเป็นเครือข่ายมากขึ้น
แนวโน้มของเทคโนโลยีสารสนเทศทางการศึกษา
                                 1.  เทคโนโลยีTechnology หมายถึงการนำเอาความรู้จากวิทยาศาสตร์ธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อมมาประยุกต์เข้าด้วยกันเพื่อให้สิ่งต่างๆมีประโยชน์ในทางการปฏิบัติและการอุตสาหกรรม เช่น ซิป (Chip)  ถูกสร้างมาจากทรายหรือซิลิกอน ผ่านกรรมวิธีพิเศษจนเป็นอุปกรณ์ที่มีราคาสูงและนำไปใช้ประโยชน์ได้อย่างมาก
        2. เทคโนโลยีสารสนเทศ  Information   Technology   หมายถึง  เทคโนโลยีที่มีความเกี่ยวข้องกับการวิเคราะห์ข้อมูลและประมวลผลสารสนเทศทำให้สารสนเทศนั้นมีประโยชน์และสามารถใช้งานได้หลากหลายมากขึ้น
ประโยชน์ของผู้มีความรู้เทคโนโลยีสารสนเทศ หรือ IT
               1.  ใช้คอมพิวเตอร์ได้สะดวกและคุ้มค่า
               2.  ทันกับสภาพสังคมที่มีการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและสามารถคาดการแนวโน้มการใช้ในอนาคตได้
               3.  สามารถเลือกซื้อ  หรือเลือกใช้ฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ได้เหมาะสมกับงานและความต้องการของตน
               4.  รู้ทันข่าวสารและเหตุการณ์ปัจจุบันอยู่เสมอ
                5.  มีความรู้กว้างขวางหลายสาขา  มีความรู้รอบตัวมากขึ้น
การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในอนาคต
               1.  ด้านการติดต่อสื่อสาร  มนุษย์สามารถติดต่อสื่อสารกันได้อย่างไม่มีอุปสรรค  ดังคำที่ว่า  "โลกไร้พรหมแดน"
               2.  ด้านการศึกษา  นักเรียนนักศึกษาในอนาคตมีแนวโน้มที่จะเรียนอยู่ที่บ้านไม่ต้องมาโรงเรียนใช้วิธีการเรียนทางไกลโดยเรียนผ่านทางอินเตอร์เน็ต
               3.  ด้านการดำเนินชีวิต    มนุษย์มีความสุขสะบายมากขึ้นการทำงานหากมีความเสี่ยงสูงก็ใช้หุ่นยนต์ทำหน้าที่แทน  การดูแลรักษาความปลอดภัยก็ใช้โปรแกรมคอดตรวจสอบให้ทั้งหมดได้
               4.  ด้านสุขภาพ  วงการแพทย์รักษาโรคได้มากขึ้น  มีระบบแพทย์ออนไลน์คอยดูแลรักษาทางอินเตอร์เน็ตได้โดยร่วมกันรักษาโรคทั่วโลกได้
               5.  ด้านการท่องเที่ยวและความบันเทิง  สามารถผ่านระบบอินเตอร์เน็ต    ทุกรูปแบบ เช่น การจอดตั๋ว  การตรวจสอบสถานที่  การสอบถามข้อมูล  การดูหนังฟังเพลง  ตลอดจนการซื้อของไม่ต้องไปเดินซื้อตามห้างสรรพสินค้า
ผลกระทบของเทคโนโลยีสารสนเทศในด้านต่าง ๆ
1.ผลกระทบต่อการศึกษา  การนำเทคโนโลยีหรือสื่อการเรียนมาใช้มากเกินไปจะเกิดปัญหาที่ชัดเจน คือ
- ครู กับ นักเรียนขาดความสัมพันธ์และความใกล้ชิด  ทำให้ความสำคัญของโรงเรียนและครูน้อยลง
 -  นักเรียนที่มีฐานะยากจนไม่สามารถเรียนโดยใช้สื่อเหล่านี้ได้  ทำให้เกิดการเสียโอกาสทางการศึกษาและทางสังคมที่แตกต่างกัน
 2. ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม  เกิดปัญหาผลพิษต่อสิ่งแวดล้อมเพราะมนุษย์นำเทคโนโลยี
ไปใช้ในทางที่ผิด  เพราะมุ่งแต่ประโยชน์ส่วนต้นเท่านั้น

 3.  ผลกระทบต่อสังคม
   -  เกิดปัญหาว่างงานเพราะเมื่อใช้เทคโนโลยีแล้วแรงงานก็ใช้น้อยลงทำให้เกิดภาวะว่างงาน
  -  การปรับตัวที่ไม่ทันกับการพัฒนาเทคโนโลยี  คนที่อายุน้อยพัฒนาตนเองได้ดีขณะที่คนอายุมากพัฒนาตนเองได้น้อยและไม่ทันกับการพัฒนาเทคโนโลยี
 -  สังคมจะเป็นแบบต่างคน  ต่างอยู่  การดำเนินชีวิตจะไม่มีความสัมพันธ์กันมากนักเพราะทุกชีวิตต้องรีบเร่ง  ดิ้นรน
  4.  ผลกระทบต่อเศรษฐกิจ
-   มนุษย์จับจ่ายใช้สอยได้ง่ายขึ้น  เพราะมีบัตรเครดิตไม่ต้องพกเงินสด  ทำให้อัตราการเป็นหนี้สูงขึ้น
-   การแข่งขันกันทางธุรกิจสูงมากขึ้น  หวังผลกำไรมากขึ้น  อัตราการขยายตัวทางธุรกิจสูงแต่ผลที่ตามมาก็คือทำให้มุ่งแข่งขันหวังกำไรจนลืมความมีมนุษยธรรมหรือความมีน้ำใจ
  5.  ผลกระทบต่อสุขภาพจิต 
-  การดำเนินชีวิตแบบเดิมเป็นแบบเรียบง่าย  ต้องเปลี่ยนมาเป็นการปรับตัวให้ทันกับเหตุการณ์ปัจจุบันตลอดเวลาอาจจะเกิดความเครียด  ความวิตกกังวล  ไม่ว่าในหน้าที่การงานหรือการดำเนินชีวิตประจำตัวก็ตาม
  -  พฤติกรรมของเยาวชน  การอยู่กับเกมคอมพิวเตอร์ทำให้เยาวชนเกิดนิสัยก้าวร้าว ชอบการต่อสู้ การใช้กำลัง
 -  นักธุรกิจต้องทำงานแข่งกับเวลา  พักผ่อนน้อยก็ก่อให้เกิดความเครียด  สุขภาพจิตก็เสียตามไปด้วย
ความสำคัญของเทคโนโลยีสารสนเทศ
ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ  ต้องประกอบด้วย
               1.  ฮาร์ดแวร์ Hardware            
               2.  ซอฟต์แวร์  Software
               3.  อุปกรณ์ที่ใช้ในการให้บริการข้อมูลและติดต่อสื่อสาร
พื้นฐานเทคโนโลยีสารสนเทศ  ประกอบด้วยส่วนประกอบ  ดังนี้
      1.  องค์ประกอบของระบบคอมพิวเตอร์  ได้แก่                 
                         1.  ฮาร์ดแวร์ Hardware
                      2.  ซอฟต์แวร์  Software
                      3.  ข้อมูล  Data
                      4.  บุคลากร   People
             2.  โปรแกรมเมอร์  นักวิเคราะห์ระบบและผู้ใช้งาน Programmer,System  Analyst  และ User  เป็นบุคคลที่มีหน้าที่เกี่ยวข้องในงานคอมพิวเตอร์  โปรแกรมเมอร์มีหน้าที่เขียนโปรแกรมตามที่นักวิเคราะห์ได้ออกแบบไว้  ส่วนผู้ใช้จะเป็นกลุ่มที่มีอิทธิพลต่อทิศทางในการพัฒนาเทคโนโลยีทางคอมพิวเตอร์มากที่สุด
         3.  หน่วยรับข้อมูล  หน่วยประมวลผลกลาง  หน่วยแสดงผลและหน่วยเก็บข้อมูล
       -หน่วยรับข้อมูลทำหน้าที่รับโปรแกรมและข้อมูลเข้าสู่คอมพิวเตอร์
     -หน่วยประมวลผล  ทำหน้าที่ประมวลผลและควบคุมการทำงานของระบบคอมพิวเตอร์ทั้งหมด
    -หน่วยแสดงผล  ทำหน้าที่แสดงผลลัพธ์จากการประมวลผลข้อมูล
  -หน่วยเก็บข้อมูล  ทำหน้าที่เก็บข้อมูลที่รอการประมวลผล  และเก็บผลลัพธ์ที่ได้จากการประมวลผลในระหว่างที่รอส่งไปยังหน่วยแสดงผล
 4.  การจัดการข้อมูล  ซึ่งหมายถึงแฟ้มข้อม
 5.  การประมวลผล  ประกอบด้วย  3  ขั้นตอน
    1.  การรวบรวมข้อมูล
   2.  การประมวลผล
   3.  การดูแลรักษา
เทคโนโลยีสารสนเทศรูปแบบต่าง ๆ
             1.   เทคโนโลยีระบบสารสนเทศ  เป็นระบบการจัดการสารสนเทศที่ทำหน้าที่ไม่ว่าจะเป็นการบันทึก  การแก้ไข  การทำรายงาน  งานบัญชี งานลงทะเบียน   ระบบสารสนเทศจะช่วยให้องค์กรมีความสะดวกรวดเร็วในการทำงานและยังช่วยเป็นข้อมูลในการตัดสินใจด้วย
              2.   เทคโนโลยีระบบเครือข่าย  เป็นระบบเทคโนโลยีที่นิยมใช้กันมากในปัจจุบัน  มีประโยชน์ ดังนี้
                   2.1  สามารถติดต่อถึงกันได้ด้วยจดหมายอิเล็คทอร์นิกส์  (E-mail)
                  2.2  จัดเก็บข้อมูลไว้รวมในที่เดียวกัน  ผู้อยู่ห่างไกลก็สามารถดึงข้อมูลนั้นไปใช้ได้อย่างรวดเร็วไม่ต้องเสียเวลาในการเดินทาง
                 2.3  องค์กรประหยัดค่าใช้จ่ายงบประมาณด้านอุปกรณ์  เพราะระบบเครือข่ายสามารถใช้อุปกรณ์ร่วมกันได้
               2.4  สามารถทำงานร่วมกันได้หรือทำงานโดยใช้เอกสารชุดเดียวกัน
  3.  เทคโนโลยีสำนักงานอัตโนมัติ  เป็นระบบการทำงานที่ใช้ระบบการเชื่อมโยงคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์สำนักงาน  ซึ่งมีผลทำให้
      3.1  พนักงานสามารถติดต่อสื่อสารกันได้ทางจดหมายอิเลคทรอนิกส์ (E - mail)
     3.2  สามารถบันทึกแฟ้มเอกสารหรืองานพิมพ์เก็บไว้  และสามารถนำมาแก้ไขปรับปรุงให้ดีขึ้นได้ง่าย
   3.3  การออกแบบงานต่าง ๆ ทำได้ง่ายสะดวกรวดเร็วและใช้งานได้ง่าย
   3.4  มีระบบฝากข้อความเสียง (Voice  Mail)
  3.5  การประชุมทางไกล (Vedio  Teleconference)
 4.  เทคโนโลยีช่วยสอน CAI   ได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก  โรงเรียนและสถานศึกษาก็เริ่มมีการพัฒนาโปรแกรมบทเรียนสำเร็จรูปขึ้นมาใช้และมีผลดีกับนักเรียนที่จะได้สื่อการเรียนการสอนที่ทันสมัยและมีความน่าสนใจมากขึ้น
การจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศ
 1.  การนำมาประยุกต์ใช้งาน  จะต้องคำนึงถึงผลที่จะได้รับและผลกระทบที่จะเกิดขึ้นตามมาด้วย
 2.  การวางแผนที่ดี   เพื่อเลือกใช้เทคโนโลยีสารสนเทศให้เหมาะสมกับงานและเพื่อประโยชน์สูงสุดที่ควรจะได้รับ
 3.  มาตรฐานการใช้งาน  ควรจะมีเจ้าหน้าที่ควบคุมดูแล  ไม่ปล่อยปละละเลยหรือใช้ในทางที่ผิด
4.  การลงทุน ควรคำนึงถึงงบประมาณและผลประโยชน์ที่ได้รับด้วย  หากประโยชน์ที่ได้ไม่คุ้มค่าแก่การลงทุนก็ควรที่จะปรับแผนการเสียใหม่
5.  การจัดการข้อมูล ต้องระมัดระวังไม่ให้ข้อมูลซ้ำซ้อน  ควรมีการแบ่งปันข้อมูลเพื่อให้การทำงานร่วมกัน  มีการติดต่อสร้างความสัมพันธ์กัน
6.  การรักษาความปลอดภัยของระบบ  การใช้เทคโนโลยีร่วมกัน  ต้องมีการดูแลให้สิทธิแก่ผู้ใช้ภายในขอบเขตของแต่ละคน
การปฏิบัติตนให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีสารสนเทศ
 ปัจจุบันความก้าวหน้าของเทคโนโลยีสารสนเทศได้มีบทบาทที่สำคัญต่อวิถีชีวิตและสังคมของมนุษย์ เทคโนโลยีสารสนเทศได้สร้างการ  เปลี่ยนแปลงและโอกาสให้แก่องค์การ เช่นเปลี่ยนโครงสร้างความสัมพันธ์และการแข่งขันในอุตสาหกรรม ปรับโครงสร้างการดำเนินงานขององค์การเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิตและบริการ เป็นต้นเนื่องจากเทคโนโลยีสารสนเทศก่อให้เกิดรูปแบบใหม่ในการติดต่อสื่อสารและมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างบุคคลทำให้มีการพัฒนาและกระจายตัวของภูมิปัญญา   ซึ่งต้องอาศัยบุคคลที่มีความรู้และความเข้าใจในการใช้งานเทคโนโลยี 
นวัตกรรมทางการศึกษา ส่งผลใด ต่อการจัดการศึกษา
สำหรับนวัตกรรมทางการศึกษาที่มีการพัฒนาขึ้น จะส่งผลกระทบโดยตรงต่อกระบวนการจัดการศึกษา ดังต่อไปนี้
1. เกิดวิธีการจัดการเรียนการสอนด้วยระบบหรือวิธีการใหม่ๆ
2. จะเกิดรูปแบบเทคนิควิธีการสอนใหม่ในแต่ละสาระวิชา ที่เหมาะสมกับกลุ่มเป้าหมาย
3. มีการพัฒนาสื่อประกอบการสอน หรือสื่อการสอนหลักใหม่ ๆ เข้ามาใช้ในกระบวนการเรียนการสอน
4. การใช้เทคโนโลยีด้านคอมพิวเตอร์มาปรับใช้ในระบบการเรียนการสอนในระบบทางไกลและการเรียนด้วยตัวเอง
5. จะเกิดแนววิธีคิดในการออกแบบหลักสูตรสำหรับการเรียนรู้ด้วยวิธีการใหม่ๆ
6. มีรูปแบบการจัดการด้านการวัดผลแบบใหม่
  นวัตกรรมเป็นปัจจัยสำคัญของการจัดการศึกษา
ในอนาคตนวัตกรรมมีแนวโน้มว่า จะเป็นสิ่งจำเป็น และสำคัญอย่างยิ่งต่อกระบวนการจัดการศึกษา อันมีผลมาจากปัจจัยต่อไปนี้ (สมพร ชมอุตม์, 2532)
1. ปัจจุบันมีนวัตกรรมเกิดขึ้นใหม่ๆ ในทางการเรียนการสอน มีสื่อซึ่งผลิตออกมาอย่างไม่หยุดยั้ง
2. การเปลี่ยนวิธีการสอนแบบใหม่ ๆ ซึ่งครูใช้กันอย่างกว้างขวางด้วยการเผยแพร่ทางโทรทัศน์ โดยผลิตรายการทางการเรียนการสอนออกมาเป็นเกม ซึ่งผสมผสานกับวิชาการ ผู้เรียนเรียนอย่างสนุกสนานและมีความสนใจสูง แถมยังเรียนได้ผลดีด้วย
3. มีสื่อหลากหลายซึ่งช่วยให้เด็กได้เรียนรู้ด้วยตนเองเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ
4. มีการเปลี่ยนแปลงหลักสูตรเพื่อให้เข้ากับสภาวะการณ์ในปัจจุบัน
5. คนสนใจทางการศึกษาเพิ่มขึ้นเพื่อเพิ่มพูนความรู้จากการศึกษานอกระบบ เช่น มหาวิทยาลัยเปิด มีการเรียนการสอนโดยใช้วิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ สิ่งพิมพ์ตลอดจนการเรียนคอมพิวเตอร์ มีระบบการเรียนแบบการให้การศึกษาทบทวนความรู้เก่าที่ลืมไปแล้ว
6. ทรัพยากรการเรียนรู้เพิ่มขึ้น กล่าวคือ มีการผลิตสื่อออกมาหลาย ๆ รูปแบบและยังมี
นักวิชาการสาขาใหม่ๆ เพิ่มขึ้น เช่น วิศวกรการจราจร (Traffic Engineering) เพราะการสัญจรกลายเป็นเรื่องศาสตร์ที่ต้องศึกษากันอย่างกว้างขวางและลึกซึ้ง วิศวกรจะต้องวางแผนการสร้างถนนหนทางว่าทำอย่างไรจึงทำให้การจราจรไม่ติดขัด หรือมีวิชาการใหม่ ๆ เช่น ปิโตรเคมี สาขาเกษตรทางการประมง เป็นต้น
7. การวิจัยเกี่ยวกับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนการสอนมีเพิ่มขึ้นทั้งในและนอกประเทศ
8. ความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนในระบบและนอกระบบ มีความร่วมมือกันระหว่างเอกชนกับรัฐที่ประสานงานกันในเรื่องของการเรียนการสอน ตลอดจนมีการฝึกอบรมทางวิชาการเพิ่มขึ้นทั้งฝ่ายของรัฐและเอกชน
  มูลเหตุสำคัญในการเกิดนวัตกรรมทางการศึกษา
1. เพื่อนำนวัตกรรมมาใช้แก้ปัญหาในเรื่องการเรียนการสอน เช่น
1.1 ปัญหาเรื่องวิธีการสอน ปัญหาที่มักพบอยู่เสมอ คือ ครูส่วนใหญ่ยังคง
ยึดรูปแบบการสอนแบบบรรยาย โดยมีครูเป็นศูนย์กลางมากกว่าการสอนในรูปแบบอื่น การสอนด้วยวิธีการแบบนี้เป็นการสอนที่ขาดประสิทธิภาพและประสิทธิผลในบั้นปลาย เพราะนอกจากจะทำให้นักเรียนเกิดความเบื่อหน่าย ขาดความสนใจแล้ว ยังเป็นการปิดกั้นความคิด และสติปัญญาของผู้เรียนให้อยู่ในขอบเขตจำกัดอีกด้วย
1.2 ปัญหาด้านเนื้อหาวิชา บางวิชาเนื้อหามาก และบางวิชามีเนื้อหาเป็น
นามธรรมยากแก่การเข้าใจ จึงจำเป็นจะต้องนำเทคนิคการสอนและสื่อมาช่วย
1.3 ปัญหาเรื่องอุปกรณ์การสอน บางเนื้อหามีสื่อการสอนเป็นจำนวนน้อย
ไม่เพียงพอต่อการนำไปใช้ เพื่อทำให้นักเรียนเกิดความรู้ความเข้าใจในเนื้อหาวิชาได้ง่ายขึ้นจึงจำเป็นต้องมีการพัฒนาคิดค้นหาเทคนิควิธีการสอน และผลิตสื่อการสอนใหม่ ๆ เพื่อนำมาใช้ทำให้การเรียนการสอนบรรลุเป้าหมายได้
2. เพื่อนำนวัตกรรมไปใช้ในการพัฒนาการเรียนการสอน ให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นและเป็นประโยชน์ต่อการศึกษา โดยการนำสิ่งประดิษฐ์หรือแนวความคิดใหม่ ๆ ในการเรียนการสอนนั้นเผยแพร่ไปสู่ครู  อาจารย์ท่านอื่น ๆ หรือเพื่อเป็นตัวอย่างอีกรูปแบบหนึ่งให้กับครู อาจารย์ที่สอนในวิชาเดียวกัน ได้นำแนวความคิดไปปรับปรุงใช้หรือผลิตสื่อการสอนใหม่ ๆ เพื่อนำมาใช้ในการพัฒนาการเรียนการสอนต่อไป
ปัจจัยที่สำคัญที่มีอิทธิพลอันมีผลทำให้เกิดนวัตกรรม
1. แนวความคิดพื้นฐานในเรื่องความแตกต่างระหว่างบุคคล (Individual Different)
2. แนวความคิดพื้นฐานในเรื่องความพร้อม (Readiness)
3. แนวความคิดพื้นฐานในเรื่องการใช้เวลาเพื่อการศึกษา
4. แนวความคิดพื้นฐานในเรื่องการขยายตัวทางวิชาการและอัตราการเพิ่มประชากรการขยายตัวทางวิชาการ และการเปลี่ยนแปลงของสังคม
สารสนเทศที่สำคัญในอนาคตมีดังต่อไปนี้
       1. คอมพิวเตอร์ (computer) ปัจจุบันคอมพิวเตอร์ได้พัฒนาไปจากยุคแรกที่เครื่องมีขนาดใหญ่ทำงานได้ช้า ความสามารถต่ำ และใช้พลังงานสูง เป็นการใช้เทคโนโลยีวงจรรวมขนาดใหญ่ (very large scale integrated circuit : VLSI) ในการผลิตไมโครโปรเซสเซอร์ (microprocessor) ทำให้ประสิทธิภาพของส่วนประมวลผลของเครื่องพัฒนาขึ้นอย่างเห็นได้ชัด นอกจากนี้ยังได้มีการพัฒนาหน่วยความจำให้มี ประสิทธิภาพสูงขึ้น แต่มีราคาถูกลง ซึ่งช่วยเพิ่มศักยภาพในการทำงานของคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลในปัจจุบัน โดยที่คอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลในขณะที่มีความสามารถเท่าเทียมหรือมากกว่าเครื่องคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ในสมัยก่อน ตลอดจนการนำคอมพิวเตอร์ชนิดลดชุดคำสั่ง (reduced instruction set computer) หรือ RISC มาใช้ในการออกแบบหน่วยประเมินผล ทำให้เครื่องคอมพิวเตอร์สามารถทำงานได้เร็วขึ้นโดยใช้คำสั่งพื้นฐานง่าย ๆ นอกจากนี้พัฒนาการและการประยุกต์ความรู้ในสาขาวิชาต่าง ๆ ทั้งสาขาวิทยาศาสตร์ วิศวกรรมศาสตร์ และเทคโนโลยีสารสนเทศ ที่ส่งผลให้เครื่องคอมพิวเตอร์มีการประมวลผลตามหลักเหตุผลของมนุษย์หรือระบบปัญญาประดิษฐ์ ซึ่งจะกล่าวถึงในหัวข้อต่อไป
      2. ปัญญาประดิษฐ์ (artificial intelligence) หรือ AI เป็นการพัฒนาระบบคอมพิวเตอร์ให้มีความสามารถที่จะคิดแก้ปัญหาและให้เหตุผลได้เหมือนอย่างการใช้ภูมิปัญญาของมนุษย์จริง ปัจจุบันนักวิทยาศาสตร์ในหลายสาขาวิชาได้ศึกษาและทดลองที่จะพัฒนาระบบคอมพิวเตอร์ให้สามารถทำงานที่มีเหตุผล โดยการเลียนแบบการทำงานของสมองมนุษย์ ซึ่งความรู้ทางด้านนี้ถ้าได้รับการพัฒนาอย่างต่อเนื่องจะสามารถนำมาประยุกต์ใช้งานต่าง ๆ อย่างมากมาย เช่น ระบบผู้เชี่ยวชาญเป็นระบบคอมพิวเตอร์ที่ถูกพัฒนาขึ้นเพื่อให้ความสามารถในการแก้ปัญหาได้อย่างผู้เชี่ยวชาญ และหุ่นยนต์ (robotics) เป็นการพัฒนาสิ่งประดิษฐ์ให้สามารถปฏิบัติงานและใช้ทักษะการเคลื่อนไหวได้ใกล้เคียงกับการทำงานของมนุษย์ เป็นต้น
       3. ระบบสารสนเทศสำหรับผู้บริหาร (executive information system) หรือ EIS เป็นการพัฒนาระบบสารสนเทศที่สนับสนุนผู้บริหารในงานระดับวางแผนนโยบายและกลยุทธ์ขององค์การโดยที่ EIS จะถูกนำมาให้คำแนะนำผู้บริหารในการตัดสินใจเมื่อประสบปัญหาแบบไม่มีโครงสร้างหรือกึ่งโครงสร้าง โดย EIS เป็นระบบที่พัฒนาขึ้นเพื่อตอบสนองความต้องการที่พิเศษของผู้บริหารในด้านต่าง ๆ เช่น สถานการณ์ต่าง ๆ ทั้งภายในและภายนอกองค์การ รวมทั้งสถานะของคู่แข่งขันด้วย โดยที่ระบบจะต้องมีความละเอียดอ่อนตลอดจนง่ายต่อการใช้งาน เนื่องจากผู้บริหารระดับสูงจำนวนมากไม่เคยชินกับการติดต่อและสั่งงานโดยตรงกับระบบคอมพิวเตอร์
       4. การจดจำเสียง (voice recognition) เป็นความพยายามของนักวิทยาศาสตร์ที่จะทำให้คอมพิวเตอร์จดจำเสียงของผู้ใช้ ปัจจุบันการพัฒนาเทคโนโลยีสาขานี้ยังไม่ประสบความสำเร็จตามที่นักวิทยาศาสตร์ต้องการ ถ้าในอนาคตนักวิทยาศาสตร์ประสบความสำเร็จในการนำความรู้ต่าง ๆ มาใช้สร้างระบบการจดจำเสียง ก็จะสามารถสร้างประโยชน์ได้อย่างมหาศาลแก่การใช้งานคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ โดยที่ผู้ใช้จะสามารถออกคำสั่งและตอบโต้กับคอมพิวเตอร์แทนการกดแป้นพิมพ์ ซึ่งจะส่งผลให้ผู้ที่ไม่เคยชินกับการใช้คอมพิวเตอร์ให้สามารถปรับตัวเข้ากับระบบได้ง่าย เช่น ระบบสารสนเทศสำหรับผู้บริหารระดับสูง การสั่งงานระบบฐานข้อมูลต่าง ๆ และระบบรักษาความปลอดภัยของข้อมูล เป็นต้น ซึ่งจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานและขยายคุณค่าเพิ่มของเทคโนโลยีสารสนเทศที่มีต่อธุรกิจ
       5. การแลกเปลี่ยนข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ (electronics data interchange) หรือ EDI เป็นการส่งข้อมูลหรือข่าวสารจากระบบคอมพิวเตอร์หนึ่งไปสู่ระบบคอมพิวเตอร์อื่นโดยผ่านทางระบบสื่อสารข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ เช่น การส่งคำสั่งซื้อจากผู้ซื้อไปยังผู้ขายโดยตรง ปัจจุบันระบบแลกเปลี่ยนข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์กำลังได้รับความนิยมเพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ เพราะช่วงลดระยะเวลาในการทำงานของแต่ละองค์การลง โดยองค์การจะสามารถส่งและรับสารสนเทศในการดำเนินธุรกิจ เช่น ใบสั่งซื้อและใบตอบรับผ่านระบบสื่อสารโทรคมนาคมที่มีอยู่ ทำให้ทั้งผู้ส่งและผู้รับไม่ต้องเสียเวลาเดินทาง
      6. เส้นใยแก้วนำแสง (fiber optics) เป็นตัวกลางที่สามารถส่งข้อมูลข่าวสารได้อย่างรวดเร็วโดยอาศัยการส่งสัญญาณแสงผ่านเส้นใยแก้วนำแสงที่มัดรวมกัน การนำเส้นใยแก้วนำแสงมาใช้ในการสื่อสารก่อให้เกิดแนวความคิดเกี่ยวกับ  ทางด่วนข้อมูล (information superhighway)”ที่จะเชื่อมโยงระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์เข้าด้วยกัน เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้ใช้ได้มีโอกาสเข้าถึงข้อมูลและสารสนเทศต่าง ๆ ได้ง่ายและรวดเร็วขึ้น ปัจจุบันเทคโนโลยีเส้นใยแก้วนำแสงได้ส่งผลกระทบต่อวงการสื่อสารมวลชนและการค้าขายสินค้าผ่านระบบเครือข่ายอิเล็กทรอนิกส์
     7. อินเทอร์เน็ต (internet) เป็นเครือข่ายคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ที่เชื่อมโยงไปทั่วโลก มีผู้ใช้งานหลายล้านคน และกำลังได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยที่สมาชิกสามารถติดต่อสื่อสารแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสาร ตลอดจนค้นหาข้อมูลจากห้องสมุดต่าง ๆ ได้ ในปัจจุบันได้มีหลายสถาบันในประเทศไทยที่เชื่อมระบบคอมพิวเตอร์กับเครือข่ายนี้ เช่น ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (Nectec) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และสถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย เป็นต้น
      8. ระบบเครือข่าย (networking system) โดยเฉพาะระบบเครือข่ายเฉพาะพื้นที่ (local area network : LAN) เป็นระบบสื่อสารเครือข่ายที่ใช้ในระยะทางที่กำหนด ส่วนใหญ่จะภายในอาคารหรือในหน่วยงานLAN จะมีส่วนช่วยเพิ่มศักยภาพในการทำงานของคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลให้สูงขึ้น รวมทั้งการเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน การใช้ข้อมูลร่วมกัน และการเพิ่มความเร็วในการติดต่อสื่อสาร นอกจากนี้ระบบเครือข่ายของคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลยังผลักดันให้เกิดการกระจายความรับผิดชอบในการจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศไปยังผู้ใช้มากกว่าในอดีต
       9. การประชุมทางไกล (teleconference) เป็นการนำเทคโนโลยีสาขาต่าง ๆ เช่น คอมพิวเตอร์ เครื่องถ่ายโทรทัศน์ และระบบสื่อสารโทรคมนาคมผสมผสาน เพื่อให้สนับสนุนในการประชุมมีประสิทธิภาพ โดยผู้นำเข้าร่วมประชุมไม่จำเป็นที่จะต้องอยู่ในห้องประชุมและพื้นที่เดียวกัน ซึ่งจะช่วยให้ประหยัดเวลาในการเดินทาง โดยเฉพาะในสภาวะการจราจรที่ติดขัด ตลอดจนผู้เข้าประชุมอยู่ในเขตที่ห่างไกลกันมาก
      10. โทรทัศน์ตามสายและผ่านดาวเทียม (cable and sattleite TV) การส่งสัญญาณโทรทัศน์ผ่านสื่อต่าง ๆ ไปยังผู้ชม จะมีผลทำให้ข้อมูลข่าวสารสามารถแพร่ไปได้อย่างรวดเร็วและครอบคลุมพื้นที่กว้างขึ้น โดยที่ผู้ชมสามารถเข้าถึงข้อมูลจากสื่อต่าง ๆ ได้มากขึ้น ส่งผลให้ผู้ชมรายการมีทางเลือกมากขึ้นและสามารถตัดสินใจในทางเลือกต่าง ๆ ได้เหมาะสมขึ้น

       11. เทคโนโลยีมัลติมีเดีย (multimedia technology) เป็นการนำเอาคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์เก็บข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์มาจัดเก็บข้อมูลหรือข่าวสารในลักษณะที่แตกต่างกันทั้งรูปภาพ ข้อความ เสียง โดยสามารถเรียกกลับมาใช้เป็นภาพเคลื่อนไหวได้ และยังสามารถโต้ตอบกับผู้ใช้ด้วยการประยุกต์เข้ากับความรู้ทางด้านคอมพิวเตอร์ เช่น หน่วยความจำแบบอ่านอย่างเดียวที่บันทึกในแผ่นดิสก์ (CD-ROM) จอภาพที่มีความละเอียดสูง (high resolution) เข้ากับอุปกรณ์ต่าง ๆ เพื่อจัดเก็บและนำเสนอข้อมูล ภาพ และเสียงที่สามารถโต้ตอบกับผู้ใช้ได้ ปัจจุบันเทคโนโลยีมัลติมีเดียเป็นเทคโนโลยีที่ตื่นตัวและได้รับความสนใจจากบุคคลหลายกลุ่ม เนื่องจากเล็งเห็นความสำคัญว่าจะเป็นประโยชน์ต่อวงการศึกษา โฆษณา และบันเทิงเป็นอย่างมาก
        12. การใช้คอมพิวเตอร์ในการฝึกอบรม (computer base training)เป็นการนำเอาระบบคอมพิวเตอร์เข้ามาช่วยในการฝึกอบรมในด้านต่าง ๆ หรือการนำเอาคอมพิวเตอร์มาช่วยในด้านการเรียนการสอนที่เรียกว่า คอมพิวเตอร์ช่วยการสอน (computer assisted instruction) หรือ CAI”การใช้คอมพิวเตอร์ช่วยในการสอนเปิดช่องทางใหม่ในการเรียนรู้ โดยส่งเสริมประสิทธิภาพการเรียนรู้ ตลอดจนปรัชญาการเรียนรู้ด้วยตนเอง
         13. การใช้คอมพิวเตอร์ช่วยในการออกแบบ (computer aided design) หรือ CAD เป็นการนำเอาเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และระบบข้อมูลเข้ามาช่วยในการออกแบบผลิตภัณฑ์ รวมทั้งรูปแบบหีบห่อของผลิตภัณฑ์หรือการนำคอมพิวเตอร์มาช่วยทางด้านการออกแบบวิศวกรรมและสถาปัตยกรรมให้มีความเหมาะสมกับความต้องการและความเป็นจริง ตลอดจนช่วยลดต้นทุนการดำเนินงานในการออกแบบ โดยเฉพาะในเรื่องของเวลา การแก้ไข และการจัดเก็บแบบ
         14. การใช้คอมพิวเตอร์ช่วยในการผลิต (computer aided manufacturing) หรือ CAM เป็นการนำคอมพิวเตอร์มาช่วยในการผลิตสินค้าในโรงงานอุตสาหกรรม เนื่องจากระบบคอมพิวเตอร์จะมีความเที่ยงตรงและน่าเชื่อถือได้ในการทำงานที่ซ้ำกัน ตลอดจนสามารถตรวจสอบรายละเอียดและข้อผิดพลาดของผลิตภัณฑ์ได้ตามมาตรฐานที่ต้องการ ซึ่งจะช่วยประหยัดระยะเวลาและแรงงาน ประการสำคัญ ช่วยให้คุณภาพของผลิตภัณฑ์มีความสม่ำเสมอตามที่กำหนด
       15. ระบบสารสนเทศทางภูมิศาสตร์ (geographic information system) หรือ GIS เป็นการนำเอาระบบคอมพิวเตอร์ทางด้านรูปภาพ (graphics) และข้อมูลทางภูมิศาสตร์มาจัดทำแผนที่ในบริเวณที่สนใจGIS สามารถนำมาประยุกต์ให้เป็นประโยชน์ในการดำเนินกิจการต่าง ๆ เช่น การวางแผนยุทธศาสตร์ การบริหารการขนส่ง การสำรวจและวางแผนป้องกันภัยธรรมชาติ การช่วยเหลือและกู้ภัย เป็นต้น
แนวโน้มเทคโนโลยีสารสนเทศและนวัตกรรมเพื่อการศึกษาและการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ได้ดังนี้
      1. การเรียนรู้แนวโน้มของเทคโนโลยีและนวัตกรรมร่วมสมัย(Contemporary Technology)
แนวโน้มของเทคโนโลยีและนวัตกรรมร่วมสมัยของสถานศึกษาในระดับต่างๆมีการเคลื่อนไหวเพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงในหลากหลายรูปแบบ  อาทิเช่น  มหาวิทยาลัยเชียงใหม่โดยสำนักบริการเทคโนโลยีสารสนเทศกำลังดำเนินการด้านไอทีเพื่อก้าวไปสู่การเป็น Ubiquitous  Campus (ถนอมพร  เลาหจรัสแสง.2554) ซึ่งเป็นการสร้างสิ่งแวดล้อมของมหาวิทยาลัยเพื่อการดำเนินการต่างๆในชีวิตประจำวันของนักศึกษาและชุมชนภายในให้เอื้อต่อการเข้าถึงและสามารถใช้ประโยชน์จาก IT และการสื่อสารโทรคมนาคมอย่างครอบคลุมและมีประสิทธิภาพโดยมุ่งเน้นสร้างชีวิตไอที ( CMU IT life)  ให้เป็นส่วนหนึ่งในชีวิตประจำวันของนักศึกษา โดยการออกแบบบูรณาการและผสมผสานเข้าด้วยกันอย่างเป็นระบบ สามารถบริการได้ทุกที่ทุกเวลา เป็นต้น
        นอกจากนั้นแนวโน้มของเทคโนโลยีและนวัตกรรมในปัจจุบันอาทิเช่น Robot, RFID, GPS, Genome, bioinformatics )ได้มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วเป็นอย่างมาก  โลกกำลังก้าวเข้าสูศตวรรษใหม่ด้านนวัตกรรมเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร  ได้มีการคิดค้นสิ่งใหม่ๆเกิดขึ้นตลอดเวลาและนำออกเผยแพร่สู่สาธารณชนทั่วโลก
การพัฒนาด้านจีโนม (Genome)
        การพัฒนาเทคโนโลยีด้านจีโนม เป็นเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับสารพันธุกรรม ซึ่งมีหน้าที่ควบคุมลักษณะต่างๆ ของสิ่งมีชีวิตทุกชนิดในอนาคต การประยุกต์ใช้ด้านจีโนมจะทำได้อย่างง่ายดายและจะแทรกอยู่ในชีวิตประจำวันของเรา เช่น การตรวจสารพันธุกรรมจากเลือด
การพัฒนาหุ่นยนต์ (Robot)
     ปัจจุบันเทคโนโลยีของหุ่นยนต์เจริญก้าวหน้าอย่างรวดเร็ว เริ่มเข้ามามีบทบาทกับชีวิตของมนุษย์ในด้านต่าง ๆ เช่น ด้านอุตสาหกรรมการผลิต แตกต่างจากเมื่อก่อนที่หุ่นยนต์มักถูกนำไปใช้ในงานอุตสาหกรรมเป็นส่วนใหญ่ ปัจจุบันมีการนำหุ่นยนต์มาใช้งานมากขึ้น เช่น หุ่นยนต์ที่ใช้ในทางการแพทย์ หุ่นยนต์สำหรับงานสำรวจ หุ่นยนต์ที่ใช้งานในอวกาศ หรือแม้แต่หุ่นยนต์ที่ถูกสร้างขึ้นเพื่อเป็นเครื่องเล่นของมนุษย์ จนกระทั่งในปัจจุบันนี้ได้มีการพัฒนาให้หุ่นยนต์นั้นมีลักษณะที่คล้ายมนุษย์ เพื่อให้อาศัยอยู่ร่วมกันกับมนุษย์ ให้ได้ในชีวิตประจำวัน
       หุ่นยนต์ถูกแบ่งออกเป็น 2 ประเภทตามลักษณะการใช้งาน คือ1.หุ่นยนต์ชนิดที่ติดตั้งอยู่กับที่ (fixed robot)
 2. หุ่นยนต์ชนิดที่เคลื่อนที่ได้ (mobile robot)
เทคโนโลยี  RFID (อาร์เอฟไอดี)
       RFID   ย่อมาจาก Radio Frequency Identification  เป็นระบบฉลากที่ได้ถูกพัฒนามาตั้งแต่ปี ค.ศ. 1980 (พ.ศ.2523)  โดยที่อุปกรณ์ RFID ที่มีการประดิษฐ์ขึ้นใช้งานเป็นครั้งแรกนั้น เป็นผลงานของ Leon Theremin ซึ่งสร้างให้กับรัฐบาลของประเทศรัสเซียในปี ค.ศ. 1945 ซึ่งอุปกรณ์ที่สร้างขึ้นมาในเวลานั้นทำหน้าที่เป็นเครื่องมือดักจับสัญญาณไม่ได้ทำหน้าที่เป็นตัวระบุเอกลักษณ์อย่างที่ใช้งานกันอยู่ในปัจจุบัน
       RFID ในปัจจุบันมีลักษณะเป็นป้ายอิเล็กทรอนิกส์ (RFID Tag) ที่สามารถอ่านค่าได้โดยผ่านคลื่นวิทยุจากระยะห่าง เพื่อตรวจ ติดตามและบันทึกข้อมูลที่ติดอยู่กับป้าย ซึ่งนำไปฝังไว้ในหรือติดอยู่กับวัตถุต่างๆ เช่น ผลิตภัณฑ์ กล่อง หรือสิ่งของใดๆ สามารถติดตามข้อมูลของวัตถุ 1 ชิ้นว่า คืออะไร ผลิตที่ไหน ใครเป็นผู้ผลิต  ผลิตอย่างไร ผลิตวันไหน และเมื่อไหร่ ประกอบไปด้วยชิ้นส่วนกี่ชิ้นและแต่ละชิ้นมาจากที่ไหน รวมทั้งตำแหน่งที่ตั้งของวัตถุนั้นๆ ในปัจจุบันว่าอยู่ส่วนใดในโลก โดยไม่จำเป็นต้องอาศัยการสัมผัส (Contact-Less) หรือต้องเห็นวัตถุนั้นๆ ก่อน ทำงานโดยใช้เครื่องอ่านที่สื่อสารกับป้ายด้วยคลื่นวิทยุในการอ่านและเขียน ข้อมูล
เทคโนโลยีด้าน GPS (จีพีเอส)
     GPS คือ ระบบระบุตำแหน่งบนพื้นโลก ย่อมาจากคำว่า Global Positioning System ซึ่งระบบ GPS ประกอบไปด้วย 3 ส่วนหลัก คือ
      1. ส่วนอวกาศ ประกอบด้วยเครือข่ายดาวเทียมหลัก 3 ค่าย คือ อเมริกา รัสเซีย ยุโรปสำหรับดาวเทียมของอเมริกา ชื่อ NAVSTAR (Navigation Satellite Timing and Ranging  GPS) มีดาวเทียม 28 ดวง ใช้งานจริง 24 ดวง อีก 4 ดวงเป็นตัวสำรอง บริหารงานโดย Department of Defenses มีรัศมีวงโคจรจากพื้นโลก  20,162.81 กม.หรือ  12,600  ไมล์ ดาวเทียมแต่ละดวงใช้ เวลาในการโคจรรอบโลก  12  ชั่วโมงสำหรับดาวเทียมของทวีปยุโรป ชื่อ Galileo มี 27 ดวง บริหารงานโดย ESA หรือEuropean Satellite Agency จะพร้อมใช้งานในปี 2008ส่วนดาวเทียมของรัสเซีย ชื่อ GLONASS หรือ Global Navigation Satellite บริหารโดยRussia VKS (Russia Military Space Force)
     ในขณะนี้ภาคประชาชนทั่วโลกสามารถใช้ข้อมูลจากดาวเทียมของทางอเมริกา (NAVSTAR) ได้ฟรี เนื่องจากนโยบายสิทธิการเข้าถึงข้อมูลและข่าวสารสำหรับประชาชนของรัฐบาลสหรัฐ จึงเปิดให้ประชาชนทั่วไปสามารถใช้ข้อมูลดังกล่าวในระดับความแม่นยำที่ไม่เป็นภัยต่อความมันคงของรัฐ กล่าวคือมีความแม่นยำในระดับบวก/ลบ 10 เมตร 
      2. ส่วนควบคุม ประกอบด้วยสถานีภาคพื้นดินโดยสถานีใหญ่อยู่ที่Falcon Air Force Base ประเทศอเมริกา และศูนย์ควบคุมย่อยอีก 5 จุด กระจายไปยังภูมิภาคต่าง ๆ ทั่วโลก     
    3. ส่วนผู้ใช้งาน ผู้ใช้งานต้องมีเครื่องรับสัญญาณที่สามารถรับคลื่นและแปรรหัสจากดาวเทียมเพื่อนำมาประมวลผลให้เหมาะสมกับการใช้งานในรูปแบบต่าง ๆ
     GPSแตกต่างจากGPRS เนื่องจากGPRS ย่อมาจากคำว่า General Packet Radio Service เป็นระบบสื่อสารแบบไร้สายสำหรับโทรศัพท์มือถือ หรือ PDA หรือ notebook เพื่อเชื่อมต่อกับ internet
เทคโนโลยีด้าน ชีวสารสนเทศ (Bioinformatics)
       Bioinformatics หรือ ชีวสารสนเทศ เป็นการนำโปรแกรมคอมพิวเตอร์เข้ามาใช้กับงานทางด้านชีววิทยาโมเลกุล (Molecular Biology) ซึ่งช่วยในการเก็บรวบรวม วิเคราะห์ คำนวณ ประเมิน และแปลผลข้อมูล จากเครือข่ายสารสนเทศ สามารถใช้ข้อมูลด้านbioinformatics เพื่อทำนายผลการทดลองที่อาจจะเกิดขึ้น ทำให้สามารถดูแนวโน้มที่จะเกิดขึ้นก่อนการศึกษาวิจัยในห้องปฏิบัติการ ทำให้ประหยัดเวลาในการศึกษาวิจัย สามารถจัดการกับข้อมูลที่มีจำนวนมหาศาลและมีความซับซ้อน และนำมาประยุกต์ใช้กับการศึกษาวิจัยได้หลากหลาย เช่น ใช้ทำนายตำแหน่งของสารพันธุกรรมว่าตำแหน่งใด มีหน้าที่อะไร ใช้หาความแตกต่างของสารพันธุกรรมของสิ่งมีชีวิตชนิดต่างๆ เป็นต้น
 เทคโนโลยีอุบัติใหม่ (Emerging Technology)
      เทคโนโลยีอุบัติใหม่ (Emerging Technology) ซึ่งเป็นศัพท์ที่ใช้เรียกเทคโนโลยีใหม่ๆ ที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน เช่น นาโนเทคโนโลยี พันธุวิศวกรรม ซึ่งตัวอย่างที่ใกล้ชิดเรามากที่สุดก็คือ"โทรศัพท์มือถือ"ที่เพียงไม่กี่ปีอุปกรณ์ชิ้นเล็กๆจะกลายเป็นมากกว่าเครื่องมือที่ใช้ในการพูดคุย หากแต่ยังใช้เพื่อความบันเทิงในสารพัดรูปแบบ ทั้งดูหนังฟังเพลง รวมทั้งเชื่อมต่อกับโลกภายนอกครบวงจรซึ่งเทคโนโลยีอุบัติใหม่สามารถแบ่งเป็น 3 สาขาที่สำคัญ (ยงยุทธยุทธวงศ์.2554) ได้แก่ 1.กลุ่มเทคโนโลยีสารสนเทศ(ไอที)2.เทคโนโลยีชีวภาพ(ไบโอเทค) และ3.นาโนเทคโนโลยี  ซึ่งตัวอย่างเทคโนโลยีอุบัติใหม่ที่เกิดขึ้น 10 ชนิด  ได้แก่
1.การแพทย์นาโน(Nanomedecine) ซึ่งใช้วัสดุนาโนในการแพทย์เพื่อส่งตัวยาเข้าร่างกาย
2.การศึกษาแรงที่น้อยมากอย่างกลศาสตร์ในระดับเซลล์หรือโมเลกุล (Nanobiomechanics)
3.การศึกษาความเปลี่ยนแปลงของดีเอ็นเอเพื่อตรวจหามะเร็งในระยะเริ่มต้น (Epigenetics)
4.การทำแผนที่ความสัมพันธ์ของโมเลกุลในร่างกายซึ่งไปสู่การพัฒนายาตัวใหม่(ComparativeInteractomics)
5.การตรวจสุขภาพโดยใช้สัญญาณแม่เหล็กในร่างกาย (Diffusion Tensor Imaging)
6.การใช้คลื่นวิทยุบางส่วนที่ไม่ได้ใช้กับเทคโนโลยีไร้สาย (Cognitive Radio)
7.การใช้สัญญาณวิทยุกำหนดข้อมูลของสินค้าอย่าง "อาร์เอฟไอดี" ซึ่งมีให้เห็นมากขึ้น (Pervasive Wireless)
8.การปกป้องความเป็นส่วนตัวในระบบอินเทอร์เน็ต ซึ่งเมืองไทยอาจยังเห็นได้ไม่ชัด แต่อนาคตจะเห็นได้มากขึ้น (Universal Authentication)
9.การผลิตเซลล์โคลนนิงซึ่งมีคุณสมบัติเหมือนกับเซลล์ต้นกำเนิดแต่ไม่ได้นำมาจากเซลล์ต้นกำเนิดโดยตรง (Nuclear Reprogramming)
10.การผลิตซิลิกอนยืดได้ เพื่อพัฒนาคอมพิวเตอร์ที่มีความบางและยืดหยุ่น หรือผลิตวัสดุพิเศษอย่างเช่นถุงมือศัลยแพทย์เพื่อช่วยในการผ่าตัด (Stretchable Silicon)
    เทคโนโลยีอุบัติใหม่ถูกหยิบยกขึ้นมาใช้ประโยชน์มากขึ้นเรื่อยๆ โดยเฉพาะเพื่อตอบสนองต่อความต้องการเฉพาะด้าน เช่น ด้านสังคม ดังในกรณีของโรคติดต่ออุบัติใหม่(SARS หรือไข้หวัดนก) และยังก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างทางเศรษฐกิจในหลายด้าน โดยเฉพาะในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับนวัตกรรมของภาคอุตสาหกรรมซึ่งนำไปสู่การสร้างโอกาสทางธุรกิจและการขยายตลาด ดังนั้น การทำความเข้าใจในกระบวนการและที่มาของการเกิดเทคโนโลยีอุบัติใหม่ รวมไปถึงการจัดการองค์กรและประเทศให้พร้อมรับการเปลี่ยนแปลงนี้จะช่วยให้เราสามารถรับมือกับสภาวะความเสี่ยงโดยใช้เทคโนโลยีได้ดีขึ้น ในขณะที่ด้านธุรกิจจะช่วยให้มองเห็นโอกาสและเข้าใจความต้องการของตลาด ในอนาคตได้ดีขึ้น รวมทั้งการเพิ่มศักยภาพและโอกาสในการเป็นผู้นำตลาดหรือผู้ตามที่ชาญฉลาด การขยายขอบเขตธุรกิจ รวมไปถึงสร้างตลาดใหม่ เพื่อนำไปสู่ความสามารถในการแข่งขันที่ยั่งยืน
                ยุคปัจจุบันเป็นยุคของการเร่งสร้างและพัฒนาเทคโนโลยีอุบัติใหม่ทั้งในระดับประเทศและองค์กรระดับชาติ ซึ่งถือเป็นความท้าทายต่อการเตรียมและจัดองค์กร รวมทั้งพัฒนาบุคลากรเพื่อรับมือกับผลกระทบที่กำลังจะเกิดขึ้น โดยสิ่งสำคัญจะอยู่ที่การตั้งคำถามว่า เทคโนโลยีใหม่ในด้านใดบ้างที่จะผูกโยงไปกับประเด็นอุบัติใหม่ที่มีแนวโน้มจะเกิดขึ้นในอนาคต โดยเริ่มต้นจากประเด็นปัญหาหรือความต้องการ (needs) แล้วจึงนำเทคโนโลยีมาผสมผสานรวมกันทำให้เกิดเป็นเทคโนโลยีอุบัติใหม่ เพื่อจัดการกับปัญหาหรือตอบสนองความต้องการเหล่านั้น เพื่อให้เกิดการสนองตอบความต้องการอันไม่สิ้นสุดของมนุษย์

ทิศทางและแนวโน้มของการวิจัยทางเทคโนโลยีการศึกษา
การศึกษาแนวโน้มของการวิจัยสาหรับประเทศไทยนั้นนอกจากจะศึกษาจากประเด็นปัญหาที่เป็นปัจจุบันแล้วสามารถสำรวจได้จากการทาวิจัยของนักศึกษาระดับปริญญาโท และเอกในสาขาเทคโนโลยีการศึกษาจากมหาวิทยาลัยทั้งในประเทศและต่างประเทศ ศึกษาได้จากบทความที่ตีพิมพ์ในวารสารวิชาการทางด้านเทคโนโลยีการศึกษา และวารสารที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งศึกษาได้จากหัวข้อการจัดสัมมนาและการประชุมทางวิชาการในประเทศและต่างประเทศ และบทความหรืองานวิจัยที่ได้รับการคัดเลือกให้นาเสนอในที่ประชุมทางวิชาการนั้น จากการศึกษาดังกล่าวพบว่าแนวโน้มของการวิจัยทางด้านเทคโนโลยีการศึกษาซึ่งจะนาไปเป็นนวัตกรรมได้มีดังนี้
1. การวิจัยจะเกี่ยวข้องกับการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการศึกษา เช่น ระบบมัลติมีเดีย, Web-based Learning, E-learning และ Virtual Classroom ซึ่งเป็นการนาเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ และระบบสารสนเทศมาใช้ ทั้งระบบที่มีการเชื่อมต่อด้วยสายนาสัญญาณ และแบบไม่มีสาย หรือ Handheld and Wireless Technology  Tablets น น
2. การวิจัยด้านการออกแบบการสอน หรือ Instructional Design ให้เหมาะสมกับสถานการณ์ของการเรียนที่เปลี่ยนแปลง เช่น การออกแบบการสอนแบบต่าง ๆ การใช้ยุทธวิธีการสอน การฝึกทักษะ และการใช้Presentation Technologies
3. การพัฒนาและหาประสิทธิภาพของระบบสารสนเทศที่นามาใช้กับการศึกษา เช่นการสอนและการสอบผ่านเครือข่าย Internet การสร้างบทเรียนและเรียนบนเครือข่าย Internet รวมทั้งระบบสารสนเทศอื่น ๆ เช่นระบบ Transaction Processing System, Management Information System, Decision Support System ป็นต้น
4. ด้านการเป็นผู้นาทางเทคโนโลยี หรือ Leadership in Technology และการสนับสนุนเงินทุนทางด้านการใช้เทคโนโลยี หรือ Funding for Technology
ทิศทางและแนวโน้มหรือนวัตกรรมทางเทคโนโลยีการศึกษา (ในประเทศไทย)
     พัฒนาการของเทคโนโลยีสารสนเทศจะนาไปสู่การเปลี่ยนสารสนเทศที่มีอยู่ในปัจจุบันให้อยู่ในรูปของ Digital หรือ Digital Convergence ทาให้ลักษณะของหลักสูตรและการสอนรวมทั้งสถาบันการศึกษาเปลี่ยนแปลงไป แนวคิดการเรียนการสอนในแบบของIndustrial จะถูกนามาใช้ มีการนาเทคโนโลยีมาใช้มากขึ้น ผู้เรียนและประชาชนยังต้องเรียนรู้ตัวสื่อควบคู่ไปกับสาร การชื่นชมการนาเทคโนโลยีมาใช้แก้ปัญหาทางการศึกษายังมีอยู่ต่อเนื่อง ประเทศไทยโดยรวมยังไม่สามารถพัฒนาไปสู่การเรียนแบบ Transactional อย่างเป็นปกติวิสัยหรือเป็นส่วนมากได้ก่อนปี พ.ศ. 2560 พัฒนาการของเทคโนโลยีมีอิทธิพลมากในการกาหนดทิศทางและแนวโน้มของทั้งระบบการศึกษาโดยรวม ส่วนแนวความคิดทางการศึกษามีอิทธิพลน้อยกว่าในการกาหนดทิศทางของการนาเทคโนโลยีมาใช้ เนื่องจากประเทศไทยได้รับอิทธิพลทั้งแนวคิดและเทคโนโลยีจากประเทศตะวันตกซึ่งเป็นประเทศทุนนิยมที่มีสภาพสังคมเป็นเป็นอุตสาหกรรมและหลังอุตสาหกรรม วงล้อของการพัฒนาจะหมุนตามประเทศที่พัฒนาล่วงหน้าไปแล้วโดยมีทิศทางและแนวโน้มทางเทคโนโลยีการศึกษาดังนี้
1. จะมีการทดลองใช้เทคโนโลยี WWW เพื่อการศึกษาและการบริหารจัดการหลักสูตรมากขึ้น และผลการวิจัยจะมีการแสดงถึงประสิทธิภาพ ประสิทธิผล และคุณภาพของการเรียนการสอนและลดข้อจากัดของการเข้าถึงข้อมูลและการใช้เทคโนโลยี เป็นการเตรียมเข้าสูยุค E-Learningอย่างเต็มที่
2. จะมีการออกแบบระบบสารสนเทศ และใช้เทคโนโลยีเพื่อการเรียนการสอนให้สามารถตอบสนองความต้องการของผู้เรียนได้ทุกกลุ่ม ทั้งผู้ที่ทางาน เด็ก ผู้พิการ ผู้ต้องขังและผู้สูงอายุ
3. จะมีการนาเทคโนโลยีสื่อสารไร้สายมาใช้กับการศึกษาแบบเคลื่อนที่ (M-learning) เช่น Mobile Phone (โทรศัพท์มือถือ) แ Smart Phone พ ร พ พาแ นา (Tablets) และ Wi-Fi Technology สาหรับ Internet ไร้สายเป็นต้น
4. จะมีการรับรองมาตรฐานของการจัดการเรียนการสอนโดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศขึ้น โดยมีกระบวนการและวิธีการรับรองมาตรฐานที่แตกต่างไปจากการรับรองมาตรฐานการผลิตผู้จบการศึกษาที่เป็นอยู่
5. จะมีการออกแบบโปรแกรมใหม่ ๆ นวัตกรรมการสอน และมีวิธีการสอนใหม่ๆ เกิดขึ้นตามศักยภาพของเทคโนโลยีที่มีมากขึ้น
6. จะมีการจัดกรอบความคิดใหม่เกี่ยวกับความหมายและคุณลักษณะของการเรียนการสอนที่ดีและสิ่งแวดล้อมการเรียนที่ดีซึ่งมีเทคโนโลยีเป็นส่วนหนึ่งของสิ่งแวดล้อมสาคัญของการเรียน
7. จะมีการขยายขอบข่ายของการเรียนการสอนไปได้ไกลขึ้น เริ่มคิดถึงภาพรวมทั้งโลก มากกว่าระดับชุมชนหรือระดับชาติเท่านั้น สถานศึกษาจะมีวิทยาเขตได้ทุกแห่งในโลกที่มี Internet ไปถึง มีการเข้าสู่การเป็นสากลด้วยการใช้เทคโนโลยีเป็นตัวนา
      ทิศทางและแนวโน้มของการวิจัยเพื่อการนาเทคโนโลยีมาใช้ทางการศึกษาซึ่งหมายถึง นวัตกรรมทางด้านเทคโนโลยีการศึกษา แบ่งได้ตามระดับชั้น สาขาวิชา และประเภทของสื่อ ส่วนภารกิจของการนาเทคโนโลยีมาใช้แบ่งออกเป็น 3 ด้าน ได้แก่ภารกิจด้านการบริหาร ด้านการบริการ และด้านงานวิชาการ ภารกิจด้านการบริหารงานในสานักงานรวมทั้งด้านบุคลากร การเงิน วัสดุอปกรณ์ อาคารสถานที่ ฯลฯ สามารถนาเอาระบบสารสนเทศ TPS, MIS และ DSS ไปใช้ได้ในแต่ละระดับของการบริหาร เช่น ระดับล่างใช้ TPS ระดับกลางใช้ MIS และระดับสูงใช้ DSS ส่วนด้านการบริการนั้นให้บริการแก่กลุ่มเป้าหมายได้แก่คณาจารย์และเจ้าหน้าที่ นักศึกษา และบุคคลภายนอกทั่วไป เป็นระบบงานสารสนเทศที่ให้ความถูกต้อง รวดเร็ว และเชื่อถือได้ ระบบสารสนเทศในปัจจุบัน สามารถออกแบบให้สอดคล้องกับความต้องการของกลุ่มเป้าหมายได้ เช่น กลุ่มคณาจารย์และเจ้าหน้าที่อาจต้องใช้ระบบCMS ส่วนนักศึกษาใช้ระบบ SSS และบุคคลทั่วไปเป็นระบบการแจ้งข้อมูลและข่าวสาร หรือ Information Service Systems โดยการใช้Homepage ซึ่งสามารถนาไปใช้ประโยชน์ได้ดี ในทุกกลุ่มเป้าหมายด้วย ส่วนงานวิชาการนั้นเป็นการบูรณาการเทคโนโลยีต่าง ๆ ให้เกิดเป็นระบบขึ้น การออกแบบระบบบูรณาการสารสนเทศ หรือ ITSD เป็นวิธีการของการนาเอาเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ในงานวิชาการ อย่างไรก็ตามการตัดสินใจเลือกใช้เทคโนโลยีสารสนเทศต่างๆ ให้มีประสิทธิภาพนั้นขึ้นอยู่กับพื้นฐานของจริยธรรมและต้องมีการพิจารณาประเด็นด้านการศึกษา ด้านสังคม และด้านเศรษฐกิจและวัฒนธรรม การสร้างนวัตกรรม หรือการเลือกใช้เทคโนโลยีหรือเทคนิควิธีควรสนองตอบต่อแนวโน้มดังกล่าวนี้
 ระบบสำนักงานอัตโนมัติ  (Office Automation)
    ระบบสำนักงานอัตโนมัติ  (Office Automation)เป็นการนำเอาเทคโนโลยีใหม่มาใช้เพื่อช่วยให้การปฏิบัติงานในสำนักงานมีประสิทธิภาพมีความคล่องตัวสะดวกรวดเร็วมากขึ้น โดยการนำเอาอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์คอมพิวเตอร์มาใช้ในการจัดทำ การเก็บรักษา การส่งข้อมูลการติดต่อสื่อสารในสำนักงาน ทั้งยังเป็นการลดปริมาณกระดาษลง สามารถสื่อสารผ่านทางจอคอมพิวเตอร์ได้อย่างรวดเร็ว การจัดเก็บเอกสาร สามารถนำเอาเครื่องมือเครื่องใช้ในการจัดเก็บให้มีประสิทธิภาพมากขึ้นค้นหาได้ง่ายและประหยัดพื้นที่ในการจัดเก็บ นอกจากนี้ยังมีเครื่องมือเครื่องใช้และอุปกรณ์อื่นๆ อีกมากมายสำหรับสำนักงานอัตโนมัติ
 องค์ประกอบของการจัดสำนักงานอัตโนมัติ
       OA ประกอบด้วยข้อมูลตัวเลข รูปภาพ ข้อความ และเสียงที่สามารถเชื่อมโยงกันได้หมดและจุดเริ่มต้นของ OA เป็นการต่อคอมพิวเตอร์เข้ากับเครื่องพิมพ์ดีด โทรศัพท์ก็สามารถทำงานได้อย่างอัตโนมัติและจะพัฒนาถึงขั้น สามารถใช้โดยไม่ต้องเปลี่ยนเครื่อง จนนำโทรศัพท์มาใช้เป็นหัวใจสำคัญของ OA ที่จะขยายเครือข่ายออกไปได้ทั่วถึงทุกจุดในอนาคตข้างหน้า OA จะพยายามหาวิธีการเชื่อมอุปกรณ์ต่างๆ หรือเครื่องใช้ในสำนักงานที่มีอยู่แล้วไม่ว่าจะเป็นยี่ห้อใดก็ตามมาใช้ร่วมกันได้ดังนั้น จะเห็นว่ามีความแตกต่างของความหมายคำว่า "สำนักงานอัตโนมัติ" อยู่มากมาย เพราะผู้นำด้านนี้ คือ ญี่ปุ่นและสหรัฐอเมริกา ก็มีแนวความคิดในด้านนี้ไม่เหมือนกัน โดยสหรัฐมองว่าสำนักงานอัตโนมัติต้องเป็นระบบประสานกัน แต่ญี่ปุ่นมองเห็นว่า OA เป็นการหาเครื่องมือหรือวิธีการใดๆ ก็ตามเพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพของการทำงานในสำนักงาน ดังนั้นสำนักงานใดที่มุ่งเครื่องมืออุปกรณ์เพียงแต่เครื่องคิดเลขไฟฟ้าเท่านั้น ก็อาจเรียกว่า สำนักงานอัตโนมัติ นอกจากนั้นผู้เกี่ยวกับวงการสำนักงาน ยังมองว่าความสัมพันธ์ของคนที่ทำงานอยู่ในสำนักงานร่วมกับวัตถุต่างๆ ได้แก่ เฟอร์นิเจอร์ เครื่องใช้ คอมพิวเตอร์ โทรศัพท์ เครื่องจดบันทึกคำบอก เครื่องถ่ายเอกสาร เครื่องพิมพ์ดีดและอุปกรณ์ต่างๆ ในลักษณะความสัมพันธ์ระหว่างคนกับเครื่องจักร (Man-Machine Relation) และพยายามจัดสร้างที่ทำงานให้เหมาะสมกับการรองรับอุปกรณ์เครื่องมือเครื่องใช้ทันสมัยอื่นๆ เป็นระบบสำนักงานอัตโนมัติ
วัตถุประสงค์ของการจัดสำนักงานอัตโนมัติ
     วัตถุประสงค์ของการจัดสำนักงานอัตโนมัติเป็นการจัดเตรียมอุปกรณ์เพื่อที่จะช่วยเหลือผู้ปฏิบัติงานในการรวบรวมข้อมูลวิเคราะห์หาวิธีการแก้ปัญหาที่เป็นไปได้และเผยแพร่ข้อมูลให้ผู้อื่นทราบ ได้แก่
1. ต้องการความสะดวก
2. ต้องการสั่งผ่านสารสนเทศอย่างต่อเนื่อง
3. เพื่อลดปริมาณคนงาน และปริมาณงานด้านเอกสาร
4. ต้องการความยืดหยุ่น
5. เพื่อที่จะสามารถขยายงานต่อไปได้ในอนาคต
 เครือข่ายคอมพิวเตอร์ (Net Working) และการสืบค้น
 ชนิดของเครือข่าย
ระบบเครือข่ายจะถูกแบ่งออกตามขนาดของเครือข่าย ซึ่งปัจจุบันเครือข่ายที่รู้จักกันดีมีอยู่ 3 แบบ ได้แก่
 1) เครือข่ายภายใน หรือ แลน (Local Area Network: LAN) เป็นเครือข่ายที่ใช้ในการ เชื่อมโยงกันในพื้นที่ใกล้เคียงกัน เช่นอยู่ในห้อง หรือภายในอาคารเดียวกัน 
2) เครือข่ายวงกว้าง หรือ แวน (Wide Area Network: WAN) เป็นเครือข่ายที่ใช้ในการ เชื่อมโยงกัน ในระยะทางที่ห่างไกล อาจจะเป็น กิโลเมตร หรือ หลาย ๆ กิโลเมตร 
3) เครือข่ายงานบริเวณนครหลวง หรือ แมน (Metropolitan area network : MAN)   
4) เครือข่ายของการติดต่อระหว่างไมโครคอนโทรลเลอร์ หรือ แคน (Controller area network) : CAN) เป็นเครือข่ายที่ใช้ติดต่อกันระหว่างไมโครคอนโทรลเลอร์ (Micro Controller unit: MCU) 
 5)เครือข่ายส่วนบุคคล หรือ แพน (Personal area network) : PAN) เป็นเครือข่ายแบบไร้สายระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์มีองค์ประกอบที่สำคัญเพื่อการเชื่อมต่อเป็นเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ได้แก่ คอมพิวเตอร์แม่ข่าย (File Server) ช่องทางการสื่อสาร (Communication Chanel) สถานีงาน (Workstation or Terminal) และอุปกรณ์ในเครือข่าย (Network Operation System)
1. คอมพิวเตอร์แม่ข่าย(File Server)   หมายถึงคอมพิวเตอร์ ที่ทำหน้าที่เป็นผู้ให้บริการทรัพยากร (Resources) ต่าง ๆ ซึ่งได้แก่ หน่วยประมวลผล หน่วยความจำ หน่วยความจำสำรอง ฐานข้อมูล และ โปรแกรมต่าง ๆ เป็นต้น ในระบบเครือข่ายท้องถิ่น (LAN) มักเรียกว่าคอมพิวเตอร์แม่ข่าย ในระบบเครือข่ายระยะไกล ที่ใช้เมนเฟรมคอมพิวเตอร์ หรือ มินิคอมพิวเตอร์เป็นศูนย์กลางของเครือข่าย เรานิยมเรียกว่า Host Computerและเรียกเครื่องที่รอรับบริการว่าลูกข่ายหรือสถานีงาน
2. ช่องทางการสื่อสาร(Communication Chanel)   ช่องทางการสื่อสาร หมายถึง สื่อกลางหรือเส้นทางที่ใช้เป็นทางผ่าน ในการรับส่งข้อมูลระหว่างผู้รับ (Receiver) และผู้ส่งข้อมูล (Transmitter) ปัจจุบันมีช่องทางการสื่อสารสำหรับการเชื่อมต่อเครือข่าย คอมพิวเตอร์มีหลายประเภทคือ สายโทรศัพท์แบบสายคู่ตีเกลียวไม่มีฉนวนหุ้ม (UTP) สายคู่ตีเกลียว แบบมีฉนวนหุ้ม (STP) สายโคแอคเชียล สายใยแก้วนำแสง คลื่นไมโครเวป และดาวเทียม เป็นต้น
3. สถานีงาน(Workstation or Terminal)   หมายถึง อุปกรณ์หรือเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ ที่เชื่อมต่อกับเครือข่ายคอมพิวเตอร์ทำหน้าที่เป็นสถานีปลายทางหรือสถานีงานที่ได้รับการบริการจากเครื่อง คอมพิวเตอร์แม่ข่าย เรียกว่าเป็นคอมพิวเตอร์ลูกข่าย (Workstation) ในระบบเครือข่ายระยะใกล้มักมีหน่วยประมวลผลหรือซีพียูของตนเอง ในระบบที่ใช้เครื่องคอมพิวเตอร์เมนเฟรมเป็นศูนย์กลางเรียกสถานีปลายทางว่าเทอร์มินอล (Terminal) ประกอบด้วยจอภาพและแป้นพิมพ์เท่านั้น ไม่มีหน่วยประมวลกลางของตัวเอง ต้องใช้หน่วยประมวลผลของคอมพิวเตอร์ศูนย์กลางหรือ Host
4. อุปกรณ์ในเครือข่าย(Network Operation System)   การ์ดเชื่อมต่อเครือข่าย (Network Interface Card :NIC) หมายถึง แผงวงจรสำหรับใช้ในการเชื่อมต่อสายสัญญาณของเครือข่าย ติดตั้งไว้ในเครื่องคอมพิวเตอร์ที่เป็นเครื่องแม่ข่าย และเครื่องที่เป็นลูกข่าย
ประโยชน์ในการใช้เครือข่ายอินเทอร์เน็ต มีดังนี้
   1. ใช้ติดต่อสื่อสารกับบุคคลต่างๆทั่วโลก โดยการใช้ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์(E-mail) หรือการสนทนาทางอินเทอร์เน็ต (Chat)
   2. เพื่อการเข้าใช้คอมพิวเตอร์เครื่องอื่นๆ ที่ต่ออยู่ในเครือข่าย การติดต่อเข้าสู่คอมพิวเตอร์เครื่องอื่นๆที่ต่ออยู่ในเครือข่ายทำให้ผู้ใช้สามารถเรียกโปรแกรมในเครื่องคอมพิวเตอร์นั้นๆ มาใช้งานได้
    3. เพื่อการถ่ายโอนแฟ้มข้อมูลคอมพิวเตอร์ ซึ่งผู้ใช้สามารถคัดลอกและถ่ายโอนแฟ้มข้อมูลหรือโปรแกรมที่ผู้ผลิตอนุญาตมาใช้ตามต้องการ
    4. สามารถสืบค้นข้อมูลจากแหล่งข้อมูลห้องสมุดทั่วทุกมุมโลก
                5. ใช้ในการรับข้อมูล ข่าวสาร แลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นในด้านต่าง ๆผ่านกลุ่มสนทนา
                6. สามารถใช้เชื่อมโยงติดต่อกับคอมพิวเตอร์หรือศูนย์ข้อมูลต่างๆ เพื่อใช้ในงานด้านต่างๆทั่วโลก
                7. เพื่อใช้บริการและดำเนินงานธุรกิจจากผู้ขายบริการด้านต่างๆ เช่น ธนาคาร ร้านค้า ร้านอาหารเป็นต้น
                8. ใช้ในการเรียนการสอนทางไกล (E-Learning) การประชุม การอบรมสัมมนา
                9. ใช้เพื่อความบันเทิงและพักผ่อนหยุ่นใจ เช่น  ดูหนังฟังเพลง รายการทีวี วิทยาศาสตร์ ภาพยนตร์ เกมเป็นต้น
                10. เผยแพร่ข้อมูลข่าวสารที่ทันสมัย

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น